top of page

หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน

คำอธิบายรายวิชา

  ความรู้เบี้องต้นทางด้านอุทกธรณีวิทยา ประกอบด้วย หน่วยหินให้น้ำบาดาลในประเทศไทย (Hydrogeology of Thailand) ประเภทของชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer Types) พื้นที่สันปันน้ำ (Watershed) แอ่งน้ำบาดาล (Groundwater Basin) พื้นที่รับน้ำ (Recharge Area) และพื้นที่สูญเสียน้ำ (Discharge Area) และระบบการไหลของน้ำใต้ดิน (Groundwater Flow System) แผนที่น้ำบาดาล (Groundwater Map) แผนที่แสดงระดับและทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน (Groundwater flow direction map) บ่อสังเกตการณ์น้ำใต้ดิน (Groundwater Monitoring Well)

          ศึกษาที่มาและปัจจัยการเกิดฝน ช่วงเวลาการเกิดฝน และปริมาณของฝน ให้สามารถกำหนดช่วยเวลาที่เหมาะสมในการกักเก็บน้ำใต้ดิน เรียนรู้วิธีการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน 8 ขั้นตอนตามมาตรฐาน (AGS) ศึกษาแนวคิดและเทคนิคทของการจัดการน้ำผิวดินและใต้ดิน ฝึกปฏิบัติการออกแบบ การทำบ่อเติมน้ำใต้ดิน การเก็บข้อมูลพื้นฐาน การกำหนดทิศทางของน้ำใต้ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำระดับชุมชน การเจาะสำรวจชั้นดิน-ชั้นหิน เรียนรู้การใช้เครื่องมือการตรวจวัดระดับน้ำบาดาล การตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำเบื้องต้น รวมถึงการวบรวมจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล การฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวางแผน รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลระดับและทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน

28070715_1502205549878151_42542831021825744_o.jpg

เอกสารประกอบรายวิชา

หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน

หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิชาธนาคารน้ำใต้ดิน เวลา 14 ชั่วโมง

หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิชาธนาคารน้ำใต้ดิน เวลา 30 ชั่วโมง

bottom of page