คณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ ลงพื้นที่ หมู่บ้านก๋องป๋อใต๋ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
- Piyawan Nakto
- Jun 22, 2024
- 1 min read
Updated: Jul 12, 2024
วันที่ 21 มิถุนายน 2567
คณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนฯ ลงพื้นที่ หมู่บ้านก๋องป๋อใต๋ ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
นายธเนศ นะธิศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำใต้ดิน นำทีมลงพื้นที่คุยเกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำกับ
นายชนพัฒน์ เงินสุเจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นายกกล่าวว่า น้ำมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของคนบนดอย “น้ำมาก่อน ถนนถึงตามมา“ ตำบลนาเกียนขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำปะปา งบประมาณที่เข้ามาพัฒนามีจำนวนจำกัด บริหารจัดการน้ำได้ไม่ทั่วถึง ส่งผลถึงอาชีพหลักของชุมชน ทำให้ช่วงที่ไม่ได้ทำการเกษตรต้องออกไปใช้แรงงานนอกหมู่บ้าน
ทีมงานเข้าไปพูดคุยถึงปัญหาเรื่องน้ำและการเป็นอยู่ กับ นางสาวจรูญวรรรณ มาลีผดุง (นักเรียกจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่) นางสาวหล่ายโป๊ะ มาลีผดุง (แม่ของน้องจรูญ) นายปิยะ เลิศพันราย (ผู้ใหญ่บ้าน) ทั้ง 3 เป็นเชื้อชาติกะเหรี่ยงโปว์ อาชีพหลักของชาวบ้านจะทำการเกษตร ปลูกมะเขือเทศ ฟักทอง และทำนา น้ำที่ใช้ในหมู่บ้านจะมาจากแหล่งต้นน้ำธรรมชาติเป็นหลัก และช่วงสิ้นฤดูทำการเกษตรชาวบ้านจะดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและเข้าไปในเมืองเพื่อรับจ้างใช้แรงงาน เนื่องจากไม่มีน้ำให้ทำการเกษตรในช่วงนั้น นอกจากปัญหาเรื่องน้ำในช่วงหน้าแล้ง ยังมีปัญหาหมอกควันไฟป่า เกิดจากการเผาเพื่อทำไร่ทำสวนของชาวบ้านแล้วเกิดการรุกลามขึ้น หรือเชื้อไฟที่ดับไม่สนิท
หลักจากพูดคุยถึงปัญหาเรื่องการจัดการน้ำทีมงานวางแผนเข้าไปสำรวจทางธรณีเพื่อช่วยหาแนวทางแก้ปัญหาการจัดการน้ำ พบว่า ฝายต้นน้ำของหมู่บ้านไม่สามารถเก็บน้ำได้ทั้งหมด เนื่องจาก ประตูฝายไม่ครอบคลุมในการกักเก็บน้ำ แต่ถ้ามีการปรับปรุงซ่อมแซมก็จะสามารถช่วยกักเก็บน้ำไว้ได้ แนวทางการแก้ปัญหา มี 2 วิธี 1. ขุดลอกหน้าฝายเพิ่มประสิทธิถาพในการกักเก็บน้ำ สามารถทำธนาคารน้ำใต้ระบบเปิดเพื่อกักเก็บน้ำได้ 2.เจาะบ่อบาดาลระดับตื้น ช่วงฤดูฝนใช้น้ำผิวดินจากฝาย ในช่วงฤดูแล้งใช้น้ำจากบ่อบาดาลระดับตื้น เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงขาดน้ำ หากแก้ปัญหาจัดการน้ำตามแนวทางได้จะช่วยให้ชาวบ้านมีน้ำกินน้ำใช้ ทำการเกษตรตลอดทั้งปี ไม่ต้องออกไปใช้แรงงานในเมืองจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านได้มากขึ้น
โครงการฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตคนในหมู่บ้านและการสำรวจด้านธรณีวิทยา เพื่อนำองค์ความรู้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ไปโยชน์ให้มากที่สุด และประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านให้ดีขึ้น
Comments