top of page
Writer's picturePiyawan Nakto

ลงพื้นที่ ติดตามผลการขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด วษท.กาญจนบุรี

วันที่ 6 มิถุนายน 2567


นายธเนศ นะธิศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ นำทีมลงพื้นที่ติดตามผลการขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดและ ให้ความรู้ด้านการสำรวจธรณีฟิสิกส์กับ นายปรีดี สมอ รอง ผอ.วษท.กาญจนบุรี พร้อมกับครูและนักเรียน


นายณัฏฐ์ พงศ์พูนสุขศรี ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติงานของโครงการฯ เล่าถึงความสำเร็จของการนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการแก้ปัญหาจัดการน้ำ ให้กับครูและนักเรียนวษท.



เนื้อหาโดยสรุปคือ ธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับชั้นผิวดิน 2.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งและช่วยกักเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน หากเกษตรกรนำองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำไปพัฒนาพื้นที่ของตัวเองจะสามารถช่วยให้ทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง และได้เล่าถึงหลักการทำธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจากการปล่อยกระแสไฟฟ้า ก่อนให้ครูและนักเรียนได้ลงพื้นที่จริง

 

นายธเนศ นะธิศรี นำครูและนักเรียน วษท. ลงพื้นที่บริเวณบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดของวิทยาลัย เพื่อศึกษาการใช้งานเครื่องมือธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าลงใต้ดินดูสภาพโครงสร้างชั้นดินและชั้นหินหลังการขุดว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของการขุดบ่อเพื่อเป็นบ่อเติมน้ำ หรือไม่

 

จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือธรณีฟิสิกส์ พบว่า หลังจากขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินมา 6 เดือน ชั้นดินและชั้นหินในระดับความลึก 1-60 เมตร ยังคงเป็นหินแข็งและไม่มีความชื้นเพิ่มขึ้นจากผลการสำรวจก่อนการทำบ่อ จึงยังไม่สามารถสรุปผลเรื่องประสิทธิภาพของบ่อได้อย่างชัดเจน และคาดว่าการติดตามผลด้วยวิธีวัดระดับน้ำใต้ดินและสูบทดสอบปริมาณน้ำใต้ดินอย่างต่อเนื่องจะสามารถวัดประสิทธิภาพการเติมน้ำของบ่อได้ดีกว่า ซึ่งโครงการฯ จะร่วมมือกับ วษท. ดำเนินการต่อไป



16 views0 comments

Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación
bottom of page